

สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร

อุตสาหกรรมอาหารนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของโลก ในแต่ละปีบริษัทด้านอาหารเหล่านี้จะมีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่จากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหลายพันคน นอกจากนี้อาหารแทบทุกชิ้นที่วางขายตามร้านทั่วไปก็ถูกออกแบบโดยนักเทคโนโลยีการอาหารที่ใช้การผสมผสานของหลักการด้านวิทยาศาสตร์เข้ากับศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบต่างๆ จนกลายเป็นอาหารแปรรูปอย่างที่เราเห็น
เทคโนโลยีการอาหารเป็นการเรียนรู้ที่มีการผสมผสานอย่างลงตัวของหลากหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต เคมี จุลชีววิทยา วิศวกรรม และโภชนาการอาหาร เพื่อคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ๆ หรือออกแบบกระบวนการผลิตใหม่ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น เพื่อจะผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
นักเทคโนโลยีการอาหารจะอาศัยทฤษฎีและหลักการจากวิทยาศาสตร์อาหาร เพื่อให้เข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหาร การถนอมอาหาร การแปรรูป การกระจายสินค้า การประเมินความปลอดภัย ตลอดจนการบริโภคอาหาร ทั้งนี้การเรียนการสอนของภาควิชาเทคโนโลยีการอาหารจะเป็นศาสตร์ผสมผสานที่นักศึกษาจะได้เรียนทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารไปพร้อมๆ กัน
เส้นทางอาชีพหลังเรียนจบ
- วงการอาหาร สามารถทำงานในแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แผนกควบคุมและประกันคุณภาพ ฝ่ายการผลิต ตำแหน่งผู้จัดการโรงงาน ตำแหน่งผู้ตรวจสอบคุณภาพและระบบ (GMP, HACCP, Organic, ISO 9000, ISO 22000, BRC, FSSC 22000), ตำแหน่งนักโภชนาการ เชฟ เป็นต้น
- หน่วยวิจัย นักวิจัย หรือผู้ช่วยนักวิจัย
- ด้านการตลาด เซลล์ ผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ ตำแหน่งบริหารและการตลาดอาหาร ผู้นำเข้าและส่งออกอาหาร ผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจอาหาร
- ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยา
- ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- ทำงานในหน่วยงานราชการ เช่น องค์การอาหารและยา เป็นต้น
- Certificated Body Auditor